วันที่ 26 พฤศจิกายน 2567 สำนักวิเทศสัมพันธ์และเครือข่ายอาเซียน นำโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กุลสิรินทร์ อภิรัตน์วรเดช พร้อมด้วยรองผู้อำนวยการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เฉลิมทรัพย์ กรัณย์จักรวุฒิ อาจารย์ศุภชัย ศรีอักษร และอาจารย์ ดร.วนิดา พลอยล้วน ร่วมต้อนรับคณะผู้บริหารจากสถาบันวิจัยสังคมศาสตร์ปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน (Beijing Academy of Social Sciences, BASS) จำนวน 4 ท่าน ได้แก่
- ศ.ดร.หยางขุย (Yang Kui) รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยสังคมศาสตร์ปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน
- ศ.ดร.หยวนเจิ้นหลง (Yuan Zhenlong) หัวหน้าศูนย์วิจัยการบริหารจัดการแบบองค์รวม
- ศ.ดร.โหยวกว๋อเจิน (You Guozhen) หัวหน้าศูนย์วิจัยแนวคิดทางการเมือง
- ศ.ดร.จ้าวจีหมิ่น (Zhao Jimin) นักวิจัยสถาบันวิจัยชุมชนเมือง
เพื่อประชุมหารือและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการร่วมกันในอนาคต ระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาและสถาบันวิจัยสังคมศาสตร์ปักกิ่ง โดยคณะผู้บริหารจากสถาบันวิจัยสังคมศาสตร์ปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีนมีวัตถุประสงค์การมาเยือน มบส. ดังต่อไปนี้
- เพื่อศึกษาวิจัยผลงานและความสำเร็จของมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาในด้านการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมไทย-จีน เศรษฐกิจ ศิลปะ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ การบริหารจัดการเมือง ตลอดจนด้านอื่นๆ ภายใต้กรอบความร่วมมือ “โครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” (Belt and Road Initiative)
- เพื่อดำเนินโครงการความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยากับสถาบันอุดมศึกษาของจีนในการร่วมกันศึกษาความสำเร็จและแนวทางการพัฒนาการสื่อสารวัฒนธรรมจีนและการบริหารจัดการเมืองในกรุงปักกิ่งและกรุงเทพมหานคร ภายใต้บริบทของ “โครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” (Belt and Road Initiative)
- เพื่อร่วมกันศึกษาแนวทางปฏิบัติและความท้าทายในการบริหารจัดการเมืองในประเทศไทย อาทิ กรุงเทพมหานครและกรุงปักกิ่ง รวมถึงหารือเกี่ยวกับความเสี่ยงด้านความมั่นคงที่สำคัญและกลยุทธ์การรับมือของเมืองเหล่านี้
- เพื่อศึกษาความก้าวหน้าและประเด็นท้าทายของโครงการความร่วมมือทางเศรษฐกิจและสังคมระหว่างไทย-จีนในด้านต่างๆ ภายใต้บริบทของ “โครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” (Belt and Road Initiative)
- เพื่อส่งเสริมความร่วมมือภายใต้ “โครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” (Belt and Road Initiative) ในการเสริมสร้างการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมฉันมิตร การเผยแพร่วัฒนธรรมจีน การส่งเสริมภาพลักษณ์ของกรุงเทพมหานครและกรุงปักกิ่ง ตลอดจนผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคม ทิศทางการดำเนินงาน และมาตรการปรับปรุงโครงการความร่วมมือทางเศรษฐกิจไทย-จีน
- เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการขยายความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยากับสถาบันสังคมศาสตร์แห่งกรุงปักกิ่ง
การประชุมหารือร่วมกันในครั้งนี้ เป็นการยกระดับความร่วมมือการทำงานร่วมกันกับเครือข่ายนานาชาติ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา และมุ่งหวังผลักดันเดินหน้าให้เกิดกิจกรรมการแลกเปลี่ยนทางวิชาการอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป
—-
ภาพ/ข่าวโดย : เครือข่ายนักประชาสัมพันธ์ สำนักวิเทศสัมพันธ์และเครือข่ายอาเซียน